- Home
- /
- หลักสูตรปริญญาตรี
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Industrial Engineering
ปรัชญาการศึกษา
ผลิตบัณฑิตที่เป็นที่ต้องการของประเทศ และสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของ สาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรม อุตสาหการ ที่มีการแตกแขนงไปสู่อุตสาหกรรมการผลิต การบริการและงานด้านวิศวกรรมการเงิน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์เพียงพอแก่การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการที่หลากหลาย และการเรียนรู้เพิ่มเติมได้
- เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ในหลักการพื้นฐานของวิศวกรรมอุตสาหการเพียงพอแก่การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการ และการเรียนรู้เพิ่มเติมได้
- เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะด้านการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมเพียงพอที่จะใช้แก้ปัญหาทางวิศวกรรมได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
- เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตมีอิสระในการเลือกเรียนตามแนวทางที่ต้องการ
- เพื่อให้นิสิตสามารถวางแผนการศึกษาของตนเองให้ต่อเนื่องไปยังระดับบัณฑิตศึกษาได้
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าศึกษา
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเป็นไปตามระเบียบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับการคัดเลือกให้ศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกสาขาวิชาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
ค่าเล่าเรียนภาคการศึกษาละ 21,000 บาท
IE Course Description
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน ระบบทวิภาค
- ภาคการศึกษาต้น : สิงหาคม – ธันวาคม
- ภาคการศึกษาปลาย : มกราคม – พฤษภาคม
- ภาคฤดูร้อน : มิถุนายน – กรกฎาคม
โครงสร้างหลักสูตร (2561) : จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 144 หน่วยกิต
หมวด | หน่วยกิต |
---|---|
1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 |
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ | 3 |
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 3 |
กลุ่มวิชาสหศาสตร์ | 3 |
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 3 |
กลุ่มรายวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มพิเศษ | 6 |
กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ | 12 |
2.หมวดวิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 21 |
3.หมวดวิชาเฉพาะ | 87 |
แผนการศึกษาปกติ | |
รายวิชาบังคับ | 78 |
รายวิชาเลือก | 9 |
แผนการศึกษาสหกิจศึกษา | |
รายวิชาบังคับ | 84 |
รายวิชาเลือก | 3 |
4.หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 |
โครงสร้างหลักสูตร (2566) : จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 138 หน่วยกิต
หมวด | หน่วยกิต |
---|---|
1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 |
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ | 3 |
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 3 |
กลุ่มวิชาสหศาสตร์ | 3 |
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 3 |
กลุ่มรายวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มพิเศษ | 6 |
กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ | 12 |
2.หมวดวิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 18 |
3.หมวดวิชาเฉพาะ | 84 |
แผนการศึกษาปกติ | |
รายวิชาบังคับ | 73 |
รายวิชาเลือก | 9 |
แผนการศึกษาสหกิจศึกษา | |
รายวิชาบังคับ | 81 |
รายวิชาเลือก | 3 |
4.หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 |
วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
หลักสูตรระดับปริญญาตรี เป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยการรับนักเรียนเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประกาศของสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
ท่านสามารถดูรายละเอียดการรับสมัคร TCAS รอบ 1 และ 2 ได้ที่
>> https://admission.chula.ac.th
การรับสมัคร TCAS รอบที่ 3 สามารถดูรายละเอียดได้ที่
>> www.mytcas.com
ทุนสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ซึ่งครอบคลุมค่าเล่าเรียนเต็มจำนวนหรือบางส่วนของหนึ่งปีการศึกษา
คุณสมบัติ
เป็นนิสิตศึกษาในระดับปริญญาตรี
เงื่อนไขพิจารณาโดยสังเขป
1. ต้องขาดแคลนทุนทรัพย์
2. มีความประพฤติดี
3. นิสิตได้รับทุนจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมตามที่คณะกำหนด (มีคะแนนกิจกรรม)
กำหนดการรับสมัคร
โปรดติดตามจากเพจของกิจการนิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา ฯ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
กิจการนิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Facebook: กิจการนิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
โทรศัพท์: 02-2186349/ 02-2186350
ข้อมูลทั่วไปของหลักสูตร
ชื่อปริญญา: วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ)
ชื่อสาขาวิชา: วศ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ)
รหัสหลักสูตร: 25490011105708
ระยะเวลาการศึกษา: 4 ปี
จำนวนหน่วยกิต: 144
รูปแบบของหลักสูตร
ประเภทของหลักสูตร: หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
ภาษาที่ใช้: ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น: ไม่มี
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา: เพียงสาขาวิชาเดียว
ปีที่ออกหลักสูตร: 2561 (ปรับปรุง)
ปีที่เริ่มใช้หลักสูตร: 2561
สถานที่จัดการเรียนการสอน: คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วัตถุประสงค์การศึกษาของหลักสูตร
1. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเพียงพอแก่การประกอบอาชีพวิศวกรรมอุตสาหการที่หลากหลายและเรียนรู้เพิ่มเติมได้
2. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ในหลักการพื้นฐานของวิศวกรรมอุตสาหกรรมเพียงพอแก่การประกอบอาชีพวิศวกรรมอุตสาหการและเรียนรู้เพิ่มเติมได้
3. เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะด้านการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมเพียงพอที่จะใช้แก้ปัญหาทางวิศวกรรมได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตมีอิสระในการเลือกเรียนตามแนวทางที่ต้องการ
5. เพื่อให้นิสิตสามารถวางแผนการศึกษาของตนเองให้ต่อเนื่องไปยังระดับบัณฑิตศึกษา
เนื้อหาการเรียนการสอน
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการสร้างความรู้และทักษะในการออกแบบ ปรับปรุง วิเคราะห์ และจัดการระบบในอุตสาหกรรมการผลิตและบริการที่หลากหลาย รายวิชาในหลักสูตรสามารถแบ่งได้เป็น 3 หมวดได้แก่
- หมวดวิชา การจัดการทางวิศวกรรม (Engineering Management): เป็นการศึกษาและนำความรู้ด้านวิศวกรรมและการจัดการมาประยุกต์ใช้ในการบริหารและจัดการองค์กร (รายวิชากรอบสีเหลือง) ครอบคลุมการวิเคราะห์และการประเมินทางการเงินในโครงการวิศวกรรมต่าง การวิเคราะห์ต้นทุนอุตสาหกรรมและการจัดทำงบประมาณ การวิเคราะห์ธุรกิจและการวางแผนธุรกิจ การจัดการและการประกันคุณภาพในงานวิศวกรรม หลักการและมาตรฐานความปลอดภัยและประเมินความเสี่ยง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในองค์กรอุตสาหกรรม
- หมวดวิชา การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Management Science): การศึกษาและนำวิธีการเชิงปริมาณมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ โดยประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ สถิติ (รายวิชากรอบสีแดง) ครอบคลุมการจัดการการดำเนินงาน การวางแผนและควบคุมการผลิต การสร้างแบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์และแบบจำลองสถานการณ์ เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการวิเคราะห์ทางเลือกและการตัดสินใจ
- หมวดวิชา การจัดการกระบวนงาน (Process Management): เป็นการออกแบบ การจัดการ และการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด (รายวิชากรอบสีเขียว) ครอบคลุม การวิเคราะห์และการวางแผนงาน การออกแบบขั้นตอนการทำงาน การนำเทคโนโลยีอัตโนมัติมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน การวางแผนและออกแบบสถานที่ทำงาน การจัดวางเครื่องจักรและอุปกรณ์ และ การวิเคราะห์การไหลของวัสดุและข้อมูล
รายวิชาในแต่ละชั้นปีมีเป้าหมายเพื่อ
- สร้างพื้นฐานวิศวกรรมอุตสาหการ: รายวิชาในชั้นปีที่ 2 มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาพื้นฐานด้านวิศวกรรมอุตสหาการ และ แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับระบบการผลิตและระบบงาน
- เตรียมความพร้อมฝึกงาน: รายวิชาในชั้นปีที่ 3 มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างเครื่องมือ และ ฟังก์ชั่นงานที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมอุตสาหการในองค์กร และ เตรียมความพร้อมสำหรับการฝึกงานทั่วไป และ แบบสหกิจศึกษา
- ต่อยอดและประกอบอาชีพ: รายวิชาในชั้นปีที่ 4 มีเป้าหมายเพื่อประยุกต์ความรู้และประสบการณ์จากการเรียนและการฝึกงาน นอกจากนี้ นิสิตชั้นปีที่ 4 ยังมีอิสระในการเรียนรู้ในสาขาที่สนใจ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ในอนาคต
ผลลัพธ์การเรียนรู้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ สอดคล้องกับผลลัพธ์การศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย และ ผลลัพธ์ของการศึกษาตามที่ TABEE กำหนดดังต่อไปนี้
- PLO-01. มีองค์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์
- PLO-02. สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์
- PLO-03. สามารถวิเคราะห์ปัญหา
- PLO-04. สามารถออกแบบและพัฒนาทางแก้ปัญหา
- PLO-05. สามารถตรวจสอบ/สืบค้นข้อเท็จจริง
- PLO-06. สามารถใช้เครื่องมือทันสมัย
- PLO-07. สามารถทำงานด้วยตนเอง และทำงานเป็นทีม
- PLO-08. สามารถติดต่อ สื่อสาร กับคณะทำงาน องค์กรวิชาชีพ กับสังคม
- PLO-09. ตระหนัก และรับผิดชอบถึงผลการปฏิบัติงานของวิศวกรต่อสังคม
- PLO-10. มีจริยธรรม
- PLO-11. ตระหนัก และ/หรือสามารถทำงานโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเศรษฐกิจพอเพียง
- PLO-12. การจัดการความเสี่ยงและการลงทุน ตระหนัก และ/หรือสามารถจัดการความเสี่ยง และการลงทุน
- PLO-13. ตระหนัก และ/หรือสามารถเรียนรู้ตลอดชีพ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
บัณฑิตสามารถทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ในฐานะของวิศวกรระบบการผลิตและการบริการ วิศวกรระบบงาน วิศวกรระบบงานคุณภาพ วิศวกรโลจิสติกส์ วิศวกรความปลอดภัย และด้วยพื้นความรู้ทางวิศวกรรมอุตสาหการและทักษะความคิดระบบงานที่ได้จากหลักสูตร บัณฑิตสามารถเรียนรู้และพัฒนาเป็นผู้ประกอบการที่ประยุกต์ใช้นวัตกรรมและสามารถรองรับความท้าทายของอนาคตได้
การเข้าศึกษา
การรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการมี 2 วิธี คือ
- การรับตรงเข้าสาขาวิชา (TCAS รอบที่ 3)
- การเลือกสาขาวิชาเมื่อขึ้นชั้นปีที่ 2
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมในการรับเข้าศึกษาต่อ สามารถติดตามได้ที่ www.mytcas.com
ข้อมูลทั่วไปของหลักสูตร
ชื่อปริญญา: วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ)
ชื่อสาขาวิชา: วศ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ)
รหัสหลักสูตร: 25490011105708
ระยะเวลาการศึกษา: 4 ปี
จำนวนหน่วยกิต: 138
รูปแบบของหลักสูตร
ประเภทของหลักสูตร: หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
ภาษาที่ใช้: ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น: ไม่มี
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา: เพียงสาขาวิชาเดียว
ปีที่ออกหลักสูตร: 2566 (ปรับปรุง)
ปีที่เริ่มใช้หลักสูตร: 2566
สถานที่จัดการเรียนการสอน: คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วัตถุประสงค์การศึกษาของหลักสูตร
1. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเพียงพอแก่การประกอบอาชีพวิศวกรรมอุตสาหการที่หลากหลายและเรียนรู้เพิ่มเติมได้
2. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ในหลักการพื้นฐานของวิศวกรรมอุตสาหกรรมเพียงพอแก่การประกอบอาชีพวิศวกรรมอุตสาหการและเรียนรู้เพิ่มเติมได้
3. เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะด้านการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมเพียงพอที่จะใช้แก้ปัญหาทางวิศวกรรมได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตมีอิสระในการเลือกเรียนตามแนวทางที่ต้องการ
5. เพื่อให้นิสิตสามารถวางแผนการศึกษาของตนเองให้ต่อเนื่องไปยังระดับบัณฑิตศึกษา
เนื้อหาการเรียนการสอน
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการสร้างความรู้และทักษะในการออกแบบ ปรับปรุง วิเคราะห์ และจัดการระบบในอุตสาหกรรมการผลิตและบริการที่หลากหลาย รายวิชาในหลักสูตรสามารถแบ่งได้เป็น 3 หมวดได้แก่
- หมวดวิชา การจัดการทางวิศวกรรม (Engineering Management): เป็นการศึกษาและนำความรู้ด้านวิศวกรรมและการจัดการมาประยุกต์ใช้ในการบริหารและจัดการองค์กร (รายวิชากรอบสีเหลือง) ครอบคลุมการวิเคราะห์และการประเมินทางการเงินในโครงการวิศวกรรมต่าง การวิเคราะห์ต้นทุนอุตสาหกรรมและการจัดทำงบประมาณ การวิเคราะห์ธุรกิจและการวางแผนธุรกิจ การจัดการและการประกันคุณภาพในงานวิศวกรรม หลักการและมาตรฐานความปลอดภัยและประเมินความเสี่ยง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในองค์กรอุตสาหกรรม
- หมวดวิชา การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Management Science): การศึกษาและนำวิธีการเชิงปริมาณมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ โดยประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ สถิติ (รายวิชากรอบสีแดง) ครอบคลุมการจัดการการดำเนินงาน การวางแผนและควบคุมการผลิต การสร้างแบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์และแบบจำลองสถานการณ์ เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการวิเคราะห์ทางเลือกและการตัดสินใจ
- หมวดวิชา การจัดการกระบวนงาน (Process Management): เป็นการออกแบบ การจัดการ และการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด (รายวิชากรอบสีเขียว) ครอบคลุม การวิเคราะห์และการวางแผนงาน การออกแบบขั้นตอนการทำงาน การนำเทคโนโลยีอัตโนมัติมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน การวางแผนและออกแบบสถานที่ทำงาน การจัดวางเครื่องจักรและอุปกรณ์ และ การวิเคราะห์การไหลของวัสดุและข้อมูล
รายวิชาในแต่ละชั้นปีมีเป้าหมายเพื่อ
- สร้างพื้นฐานวิศวกรรมอุตสาหการ: รายวิชาในชั้นปีที่ 2 มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาพื้นฐานด้านวิศวกรรมอุตสหาการ และ แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับระบบการผลิตและระบบงาน
- เตรียมความพร้อมฝึกงาน: รายวิชาในชั้นปีที่ 3 มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างเครื่องมือ และ ฟังก์ชั่นงานที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมอุตสาหการในองค์กร และ เตรียมความพร้อมสำหรับการฝึกงานทั่วไป และ แบบสหกิจศึกษา
- ต่อยอดและประกอบอาชีพ: รายวิชาในชั้นปีที่ 4 มีเป้าหมายเพื่อประยุกต์ความรู้และประสบการณ์จากการเรียนและการฝึกงาน นอกจากนี้ นิสิตชั้นปีที่ 4 ยังมีอิสระในการเรียนรู้ในสาขาที่สนใจ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ในอนาคต
ผลลัพธ์การเรียนรู้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ สอดคล้องกับผลลัพธ์การศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย และ ผลลัพธ์ของการศึกษาตามที่ TABEE กำหนดดังต่อไปนี้
- PLO-01. มีองค์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์
- PLO-02. สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์
- PLO-03. สามารถวิเคราะห์ปัญหา
- PLO-04. สามารถออกแบบและพัฒนาทางแก้ปัญหา
- PLO-05. สามารถตรวจสอบ/สืบค้นข้อเท็จจริง
- PLO-06. สามารถใช้เครื่องมือทันสมัย
- PLO-07. สามารถทำงานด้วยตนเอง และทำงานเป็นทีม
- PLO-08. สามารถติดต่อ สื่อสาร กับคณะทำงาน องค์กรวิชาชีพ กับสังคม
- PLO-09. ตระหนัก และรับผิดชอบถึงผลการปฏิบัติงานของวิศวกรต่อสังคม
- PLO-10. มีจริยธรรม
- PLO-11. ตระหนัก และ/หรือสามารถทำงานโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเศรษฐกิจพอเพียง
- PLO-12. การจัดการความเสี่ยงและการลงทุน ตระหนัก และ/หรือสามารถจัดการความเสี่ยง และการลงทุน
- PLO-13. ตระหนัก และ/หรือสามารถเรียนรู้ตลอดชีพ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
บัณฑิตสามารถทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ในฐานะของวิศวกรระบบการผลิตและการบริการ วิศวกรระบบงาน วิศวกรระบบงานคุณภาพ วิศวกรโลจิสติกส์ วิศวกรความปลอดภัย และด้วยพื้นความรู้ทางวิศวกรรมอุตสาหการและทักษะความคิดระบบงานที่ได้จากหลักสูตร บัณฑิตสามารถเรียนรู้และพัฒนาเป็นผู้ประกอบการที่ประยุกต์ใช้นวัตกรรมและสามารถรองรับความท้าทายของอนาคตได้
การเข้าศึกษา
การรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการมี 2 วิธี คือ
- การรับตรงเข้าสาขาวิชา (TCAS รอบที่ 3)
- การเลือกสาขาวิชาเมื่อขึ้นชั้นปีที่ 2
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมในการรับเข้าศึกษาต่อ สามารถติดตามได้ที่ www.mytcas.com