คณะนักวิจัยญี่ปุ่นและไทยประชุมหารือผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวมัณฑะเลย์ 2025 ณ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2568 — คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นและไทยได้ประชุมร่วมกันที่ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อหารือเกี่ยวกับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา โดยการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้การสนับสนุนของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบสารสนเทศการจัดการภัยพิบัติและความเสี่ยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญฯ รศ. ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นที่เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย

  • Prof. Yoshihisa Maruyama – Chiba University
  • Assoc. Prof. Gaku Shoji – University of Tsukuba
  • Prof. Masashi Matsuoka – Institute of Science Tokyo

ทีมวิจัยฝ่ายไทยจากศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ (EARTH) ประกอบด้วย

  • ศ. ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย (AIT) ผู้อำนวยการศูนย์ EARTH
  • ผศ. ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
  • ศ. ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ (KMUTT)
  • ศ. ดร.นคร ภู่วโรดม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  • รศ. ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)

การประชุมในครั้งนี้มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยแผ่นดินไหวในระดับภูมิภาค และสนับสนุนความร่วมมือระดับนานาชาติในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญของความร่วมมือทางวิชาการในการรับมือกับภัยธรรมชาติที่ซับซ้อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบสารสนเทศการจัดการภัยพิบัติและความเสี่ยง และภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความสำคัญในการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาของศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการภัยพิบัติทั้งในระดับชาติและภูมิภาค

Scroll to Top